วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เพลินวาน -- หัวหิน



ทำไม? เพลินวาน



เพลินตากับแฟชั่นเปรี้ยวๆ...วันวาน ห้องเสื้อไฉไล







หอมกลิ่นไอ รสละมุนของ กาแฟคลาสสิค







ข้าวอุ่น แกงร้อน.. อาหารเลื่องชื่อตำรับหัวหิน







ร้อนนัก...พักร้อน ลิ้มรสหวานเย็นให้ชื่นใจ







ของเล่นวัยเด็ก...ความสุขเล็ก ๆ ที่ไม่เคยลืมเลือน







เลือกซื้อเทปคาสเซทเพลงเพราะๆ ของวันวาน







วิดีโอหนังรักวัยหวาน ใบปิดหนังดังรวมดารา...ให้เลือกสะสม







ย้อนยุคบรรยากาศเก่าๆ ดูหนังดัง...กางแปลง







โฟโต้...กับมุมเก่าๆชวนให้คิดถึง







พร้อมเก็บภาพเป็นที่ระลึกอีกครั้ง...กันลืม







แล้วแวะส่งโปสการ์ดหาเพื่อนที่ไม่ได้มาให้อิจฉาเล่น







นอนหลับฝันดี ที่...เพลินวาน











































Read More

ว่านหางจระเข้


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f.


ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Mill


ชื่อสามัญ : Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados


วงศ์ : Asphodelaceae


ชื่ออื่น : หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวยส่วนที่ใช้ : ยางในใบ น้ำวุ้น เนื้อวุ้น และเหง้า


สรรพคุณ :
- ใบ - รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี
- ทั้งต้น - รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา
- ราก - รสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด
- ยางในใบ - เป็นยาระบาย
- น้ำวุ้นจากใบ - ล้างด้วยน้ำสะอาด ฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น - เนื้อวุ้น - เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร
- เหง้า - ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุตกิด


ความลับของว่านหางจระเข้ :


๑. แก้ปวดศีรษะ ใช้ว่านหางจรเข้ตัดตามบวางให้เป็นแว่นบางๆ เอาปูน แดงทาที่วุ้น แล้วปิดที่ขมับ จะทำให้เย็นหายปวด


๒. แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้น้ำเมือกจากว่านหางจรเข้รักษา แผลไฟลวก ขนาดรุนแรงที่สุด โดยทาน้ำเมือกที่แผลให้เปียกอยุ่เสมอ แผลจะหายรวดเร็วมาก อาการปวดแผลหรือการเกิดแผลเป็นจะมีน้อย มาก หรือไม่มีเลย


๓. ผิวไหม้เพราะถูกแดดเผา ใช้วุ้นหางจระข้ทาบ่อยๆ ช่วยลด อาการปวดแสบปวดร้อน ผิวตึง และลดจำนวนผิวที่ลอก


๔. แผลจากของมีคมและแผลอื่นๆ ทำความสะอาดแผลเสียก่อน แล้วเอาวุ้นปิดลงที่่แผลให้สนิท เอาผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงไปให้ ผ้าตรงบริเวณที่แผลเปียกอยุ่เสมอ ช่วยให้แผลหายเร็ว และลดรอยแผล เป็น


๕. กระเพาะลำไส้อักเสบ รับประทานวุ้นหางจรเข้ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ วันละหลายๆครั้ง ใช้ได้ผลในรายที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรืออวัยวะอื่น ในทางเดินอาหารเกิดการอักเสบ


๖. บำรุงผมและหนังศีรษะ ใช้วุ้นว่างหางจรเข้ ชโลมผมให้ทั่วทิ้ง ไว้ให้แห้ง รุ่งเช้าจึงใช้น้ำล้างออก ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม หวีง่ายขึ้น และรักษาแผลบนหนังศีรษะ ( ก่อนใช้ควรทดลองก่อนว่า แพ้ว่าน หรือไม่ และควรใช้แต่น้อยดูก่อน ที่สำคัญอย่าให้ยางถูกผมเพระายางจะ กัดหนังหัว)


๗. ป้องกันการติดเชื้อ ใช้วุ้นหางจรเข้ ทาแผลรักษาแผลติดเชื้อได้ ทำให้แผลดีขึ้น ภายใน ๑๒ ชั่วโมง


๘. ผื่นคันที่เกิดจากการแพ้สารต่างๆ เนื่องจากวุ้นหางจระข้ จะมี ฤทธิ์ระงับปวด จึงช่วยลดอาการคันด้วย และยังช่วยให้ผื่นคันหายเร็ว


๙. ขี้เรือนกวาง และผื่นปวดแสบปวดร้อน ใช้วุ้นหางจรเข้ กินวันละ ๑-๒ ครั้งๆละ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ แลทาควบคู่กันไป ว่านหางจรเข้ เป็นยาฝาดสมาน อาจทำให้ผิวแห้งได้ จึงควรผสมน้ำมันทาผิว หรือ น้ำมันอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย


๑๐. ลบรอยแผลเป็น ใช้วุ้นว่านหางจรเข้ทา เช้า-เย็น จะลดรอย แผลเป็น


๑๑. ลบท้้องลายหลังคลอด ใช้วุ้นว่านหางจรเข้ทาผิวท้อง ขณะตั้ง ครรภ์ แม้หลังคลอดแล้วก็ควรใช้ทาต่อเพื่อช่วยให้ผิวหน้าท้องกลับคืนสู่ สภาพปกติ คนที่เคยใช้ยืนยันว่าได้ผลดี


๑๒. เส้นเลือดดำขอดที่ขา ใช้วุ้นว่านหางจรเข้ ทาที่บริเวณเส้นเลือด ดำขอด และมีบางคนใช้ได้ผลดีมาก


๑๓. มะเ็ร็งที่ผิวหนัง ใช้วุ้นว่านหางจรเข้ ทาวันละ ๒-๔ ครั้ง เป็นเวลา หลายเดือน


๑๔. แผลครูดและแผลถลอก ใช้วุ้นว่านหางจรเข้ ทาเบาๆ ให้ทั่ว ใน ๒๔ ชั่วโมงแรก ทาบ่อยๆ แผลจะไม่ค่อยเจ็บและหายเร็วมาก


๑๕. โรคปวดตามข้อ รับประทานวุ้น ว่านหางจรเข้ เป็นประจำ จะหาย ปวดได้

Read More

Slur -- Rock N' Roll Band



สมาชิกของวง Slur


(เย่) จักรพันธ์ บุณยะมัต (Vocal)

(เป้) อารักษ์ อมรศุภศิริ (Guitar)

(เอม) ธิติพันธุ์ อนะวัชพงษ์ (Drum)

(บู้) ธนันต์ บุญญธนาภิวัฒน์ (Bass)


SMALLROOM ขอนำเสนอกลุ่มนักดนตรีมีไฟที่มาพร้อมกับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานเพลงด้วยรูปแบบความมันส์...
ทะยานสู่ความสนุกสนานในแนวทางงานเพลงแบบ ROCK N’ ROLL ของพวกเค้า 5 หนุ่มในนามศิลปินวง SLUR
กว่า 2 ปีระหว่างมิตรภาพของพวกเค้าทั้ง 5 คน ที่ได้ร่วมกันสร้างความฝันทางด้านงานเพลงให้เป็นจริง ทั้งการเล่นคอนเสิร์ตตามสถานที่ต่างๆ หรืองานมหกรรมคอนเสิร์ตระดับบิ๊กที่เคยฝากฝีไม้ลายมือไว้อย่างน่าจดจำ ด้วยการแสดงสดแบบสุดมันส์ ปนความสนุกสนานของจังหวะดนตรีที่คึกคักชวนเต้นรำในสไตล์ ROCK N’ ROLL จนเข้าตาถูกแนวทางของค่ายเพลงอย่าง สมอลล์รูม คว้ามาเป็นศิลปินในสังกัด ด้วยลีลาและภาพลักษณ์ที่สะดุดตา ทั้ง แนวทางงานเพลงบวกกับบุคลิกท่าทางในสไตล์ส่วนตัวของแต่ละคน ที่เรียกได้ว่าสุดๆ แบบไม่ยอมใคร กับอัลบั้มชุดแรกของพวกเค้าทั้ง 5 ที่ร่วมกันลงขันตั้งชื่อแบบสุดจี๊ดว่า “BOO!!”” (บู้) ด้วยการให้คำจำกัดความของพวกเค้าไว้ว่า กบฏทางคนตรีที่มาพร้อมกับเครื่องเป่าด้วยแนวดนตรีแบบ “Rock N’ Roll” ที่ผสาน sound ความเป็น Rock และ Pop เข้าไว้ด้วยกันจนเกิดเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ฟังเพลงในแนว “Rock N’ Roll”

Read More

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Indy > < ''


ประวัติและความเป็นมาของวงการเพลงอินดี้ไทย



ก่อนยุคอินดี้บูมครั้งแรกในปี 2537 ค่ายเพลงไทยสากลโดยรวม เน้นแนวกลางๆ ฟังง่ายๆ เหตุผลหนึ่งคือต้นทุนการผลิตเพลงสมัยนั้นสูงมาก ค่าเช่าห้องบันทึกเสียงและอุปกรณ์ราคาแพง การผลิตเพลงจึงเป็นของค่ายเพลงใหญ่ ซึ่งมีการกำหนดแนวเพลง ให้กับศิลปินนักร้อง เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก้าวหน้า ต้นทุนการผลิตเพลงถูกลง จึงเป็นโอกาสให้กับค่ายเพลงใหม่ๆ ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนเล็ก ที่มีความรักเสียงเพลง แต่ไม่มีเงินทุน สามารถคิด และสร้างสรรค์งานเพลง แตกต่างกับกระแสหลักมากขึ้น กลายเป็นทางเลือกใหม่ ด้วยความเบื่อหน่ายในเพลงกระแสหลักที่สะสมไว้มานาน ความนิยมของผู้ฟังจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ศิลปินนักร้องผู้มีความรู้ความสามารถทางดนตรีใน “แนว” ที่ตนถนัด จึงเริ่มมีสิทธิมีเสียงขึ้นมา พัฒนาไปจนถึงการเป็นเจ้าของค่ายเพลงเล็กๆ รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ เป็นหนึ่งในตัวอย่างของค่ายเพลงอินดี้ ที่โลดแล่นอยู่กับคลื่นลมเหล่านี้มาตั้งแต่ต้น เขาเริ่มต้นด้วยการก่อตั้งและเป็นมือเบสวง “Crub” ออกอัลบั้มชุด “View” ในปี 2537 บุกเบิกแนวเพลง brit-pop ของอังกฤษในไทย จนมาเป็นฐานะเจ้าของค่ายต้นสังกัดของวง “สี่เต่าเธอ” ที่โด่งดังในยุคอินดี้บูมครั้งแรก ต่อมารุ่งโรจน์ก่อตั้งบริษัท Small Room ในปี 2542 มุ่งงานรับทำเพลงโฆษณา แตกมาเป็นเพลงขายเป็นอัลบั้มตามร้านทั่วไป เช่นวง Armchair ซึ่งบางเพลงได้รับคัดเลือกไปวางจำหน่ายในระดับนานาชาติ รวมถึงเพลงประกอบภาพยนตร์ เช่น “เรื่องรักน้อยนิดมหาศาล” ของ เป็นเอก รัตนเรือง ในขณะที่ค่ายเพลงใหญ่ๆ สร้างระบบการทำงาน โดยแยกบทบาทชัดเจนระหว่างรูปแบบ ศิลปินเดี่ยว วง นักดนตรี นักแต่งเพลง รูปแบบอินดี้ได้เข้ามาทำให้การแบ่งแยกเหล่านี้น้อยลง แต่ดูจะไม่เคยมีครั้งใดที่บทบาทเหล่านี้จะถูกหลอมรวมเข้าหากัน เท่ากับที่ Monotone Group ทำอยู่ Monotone Group เกิดขึ้นจากการที่กลุ่มคนทำเพลงเป็นงานอดิเรกส่งขึ้นโชว์ตามเว็บไซต์ บ้างก็เพิ่งจบปริญญาตรี บ้างก็กำลังเรียนอยู่ ได้มาพูดคุยกันทางอินเทอร์เน็ต นำมาซึ่งการนัดเจอและแนะนำเพื่อนต่อกันไปจนรวมกันเป็นกลุ่มนักดนตรีที่ทำด้วยใจรัก โดยไม่มีใครเป็นนักดนตรีอาชีพ และไม่มีใครเรียนจบด้านดนตรี Monotone Group เริ่มมีชื่อเสียงจากการออกอัลบั้ม “This Is Not A Love Song” ในปี 2545 ซึ่งมีผู้มีส่วนร่วมนับสิบๆ คน เสมือน “ชมรมดนตรี” ที่ผลิตงานเพลงมาขึ้นอันดับความนิยมในสถานีวิทยุได้ ย้อนกลับไปตั้งแต่หลังความสำเร็จในชุดแรกได้ไม่นาน Monotone Group ได้ก่อตั้งบริษัทชื่อ Be Quiet ขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือในการรับงานต่างๆ ส่วนการจัดจำหน่ายเพลงก็มอบให้ ค่าย Blacksheep ภายใต้บริษัท Sony Music BEC Tero ดูแล Small Room : “The Next Indy Leader ?” ออฟฟิศของ Small Room ตั้งอยู่ ณ มุมหนึ่งของชั้นล่างศูนย์การค้าเล็กๆ ริมถนนเอกมัย บรรยากาศทั้งสำนักงานและห้องบันทึกเสียงตกแต่งอย่างสวยงามราวกับร้านกาแฟ พนักงานราว 5 คนแต่งตัวกันตามสบายต้อนรับเราเข้าพบกับ “พี่รุ่ง” รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ ในชุดกางเกงยีนส์เสื้อยืด บอกเล่าชีวิตที่ฝ่าคลื่นลมในวงการเพลงไทยในห้องรับแขกติดกับสวนหย่อมเล็กๆ เริ่มต้นอย่าง “ศิลปินอินดี้”… รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ มีใจรักดนตรีจากการที่คุณพ่อส่งเสริมให้สมาชิกในบ้านชอบฟังเพลงและเล่นดนตรียามว่าง จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ลาดกระบัง แต่หันเหไปชอบดนตรีเป็นชีวิตจิตใจ รุ่งโรจน์บอกเล่าความรู้สึกกับงานสถาปนิกว่า “ผมเกลียดงานเขียน draft ถ้ากินเครื่องดื่มชูกำลังสองขวดแล้วให้มา draft งานผมจะหลับได้ทั้งคืน แต่ถ้าให้ทำเพลงผมสามารถไม่นอนสองคืน” ช่วงปี 2537 รุ่งโรจน์นำบทเพลงที่แต่งขึ้นเอง ออกตระเวนเสาะหาค่ายเพลงที่มี sound engineer ที่ช่วยให้ “ซาวด์” ของเพลงเป็น “แบบฝั่งอังกฤษ” อย่างที่เขาหลงใหลและจินตนาการไว้อย่างละเอียด มาตรฐานที่เขาตั้งไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ทำให้ต้อง “อยู่หลายที่ ย้ายไปเรื่อย” ด้วยเหตุผลหลักว่า sound engineer ของแต่ละค่ายนั้นยังไม่สามารถช่วยให้เขาสร้างซาวด์ในใจนั้นได้ แม้แต่ค่ายเพลงใหญ่ๆ ด้วยระบบของการจัดศิลปินให้ลง “กรอบ” เป็นอุปสรรคต่อความต้องทำเพลงที่เฉพาะเจาะจง ในที่สุดเขาก็ได้พบกับค่ายที่ต้องการและออกอัลบั้ม “View” มาในนามวง “Crub” ใช้เวลาผลิตงาน 4 เดือน ขายได้ 2 หมื่นชุด ซึ่งไม่คุ้มทุน เพราะในยุคนั้นต้นทุนการผลิตงานเพลงสูงกว่าปัจจุบันมาก “รู้สึก fail มาก” คือความรู้สึกในช่วงนั้น สู่เส้นทางเจ้าของค่ายเพลง… ปี 2537 ด้วยการเป็นหุ้นส่วนร่วมก่อตั้งค่ายเพลงอินดี้ชื่อ Boop Record ออกอัลบั้มของวง “สี่เต่าเธอ” ในช่วงที่กระแสเพลงอินดี้เริ่มบูมในไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งรุ่งโรจน์เผยว่าเป็นชุดที่ขายดีชุดหนึ่ง แต่จากนั้นรุ่งโรจน์ก็ “เจ๊ง” อีกถึงสองครั้ง ด้วยเหตุผลเรื่องของ ค่าเช่าห้องอัด 4 แสนเข้าไปแล้ว ยังไม่นับรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทำไมต้อง “Small Room” ?… ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีการทำเพลงราคาถูกเกิดขึ้น รุ่งโรจน์เปิดบริษัทใหม่อีกครั้ง ในชื่อ Small Room ครั้งนี้มุ่งหารายได้หลักไปที่การรับทำเพลงประกอบโฆษณา และครั้งนี้เขาต้องปรับตัวเองครั้งใหญ่ให้ฟังเพลงและทำเพลงได้หลากหลายแนวเพื่อรองรับโจทย์ของลูกค้า ที่มาของชื่อ Small Room คือเมื่อแรกตั้งนั้น พื้นที่สำนักงานส่วนใหญ่ถูกใช้จัดเป็นสวนหย่อมอย่างสวยงามและเหลือพื้นที่ส่วนน้อยเท่านั้นไว้เป็นสำนักงานและห้องบันทึกเสียง ธุรกิจรับทำเพลงประกอบโฆษณาบริษัทดำเนินไปได้ดี แต่รุ่งโรจน์ก็ยังต้องการทำธุรกิจค่ายเพลงอีกครั้ง แต่คราวนี้เขาเปลี่ยนวิธีคิดวิธีการนำเสนอใหม่ทั้งหมด Small Room 001 บุกเบิกและเรียนรู้… อัลบั้ม Small Room 001 ออกจำหน่ายในปี 1999 รุ่งโรจน์เล่าว่าอัลบั้มนี้เป็นต้นแบบของหลายๆ อย่างในวงการเพลงไทย เช่นการนำเอาเพลงใหม่ของศิลปินรายละ 1 – 2 เพลงมารวมกัน มีการใช้นามแฝง ซึ่งรูปแบบนี้ปัจจุบันพบได้ในหลายอัลบั้มของค่ายอื่นๆ อัลบั้ม 001 นี้ใช้การทำเพลงด้วยอุปกรณ์เชิงคอมพิวเตอร์ ซึ่งเขาเรียกรวมว่าเป็น “harddisk recording” รุ่งโรจน์เปิดเผยว่าใช้งบเพียง 45% ของอดีตสมัยที่ต้องเช่าห้องอัดเสียง รุ่งโรจน์ตัดสินใจผลิตอัลบั้มชุดนี้ออกมาเป็นเทป 1 หมื่นม้วน กับ CD 1 พันแผ่น ผลปรากฏว่า CD ขายหมดอย่างรวดเร็ว แต่เทปกลับเหลือจำนวนมากจนทำให้ขาดทุน อาจนับได้เป็นตัวอย่างของศิลปินทำธุรกิจ ซึ่งแม้จะเป็นธุรกิจด้านเพลงแต่ก็ต้องอาศัยข้อมูลและประสบการณ์ที่ “คนทำเพลง” อย่างเขายังขาดอยู่ Small Room 002 ท้าทายค่ายใหญ่… ขณะนั้นกระแสความนิยมในศิลปินประเภทอินดี้เริ่มกลับมา รุ่งโรจน์ย้อนเล่าว่าเริ่มมีเสียงวิจารณ์จากค่ายใหญ่ๆ ว่าถึงที่สุดแล้วกระแสอินดี้บูมรอบสองนี้ก็คงจะจบไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับครั้งแรก คำพูดเหล่านี้ทำให้รุ่งโรจน์ “รู้สึกถูกท้าทาย” อย่างแรง ใน Small Room 002 นอกจากคุณภาพเพลงแล้ว เขาได้ทุ่มทุนทำปกซีดีให้สวยงามซับซ้อนด้วยแรง “ฮึด” ที่จะท้าทายค่ายใหญ่ๆ อัลบั้ม 002 นี้เปิดตัวในงาน Fat Festival ซึ่งเป็นปรากฏการณ์สำคัญที่เริ่มต้นยุคอินดี้บูมครั้งที่สอง และอัลบั้มนี้ก็ประสบความสำเร็จด้านยอดขาย คิดแบบ Small Room… Small Room มุ่งค้นหา “ตัวตน” ของศิลปินอย่างจริงจังโดยเฉพาะรสนิยมการฟังเพลง ประเด็นนี้รุ่งโรจน์มองว่าค่ายใหญ่ค่อนข้างออกไปทางคล้ายโรงงานที่มีกรอบอยู่แล้ว และพยายามหาพยายามจับศิลปินมาใส่กรอบนั้น และก่อนจะติดสินใจผลิตอัลบั้มหนึ่งๆ รุ่งโรจน์จะมองหาคู่แข่งมาฟังวิเคราะห์ เปรียบเสมือนการส่งนักมวยขึ้นชกเลยทีเดียว นอกจากนี้ ในขณะที่ค่ายแบบอินดี้หลายค่ายเน้นการเดินสายแสดงสด เพื่อชดเชยที่ไม่ได้ออกสื่อมวลชน Small Room กลับไม่เน้นการแสดงสด รุ่งโรจน์ให้เหตุผลว่า “อยากให้น้องๆ ศิลปินได้เอาเวลาไปคิดไปแต่งเพลงทำเพลงให้ดีที่สุด ไม่ใช่เอาเวลามาทุ่มฝึกซ้อมการแสดงบนเวที” ปัญหาอุปสรรคของอินดี้ และของ Small Room… ปัญหาที่ Small Room ประสบมาตลอดจนถึงปัจจุบันนั้น รุ่งโรจน์สรุปว่าข้อแรกคือ “งานเยอะกว่าคน” เขาสำทับว่า “พี่อยากให้น้องๆ ในออฟฟิศทุกคนได้มีเวลาไปเที่ยวกับแฟน มีเวลาให้ครอบครัวกันมากๆ” ต่อมาคือการ “QC” หรือควบคุมคุณภาพเพลงจากนักร้องนักดนตรีในสังกัดซึ่งมักจะไม่ชอบถูก QC แต่รุ่งโรจน์ได้ย้ำว่า “เพลงที่จะออกขายเป็นพาณิชยศิลป์ จะต้องผ่านการ QC” กระแสอินดี้กลับมาบูมแล้ว จะยั่งยืนหรือไม่ ?… ยุคที่อินดี้บูมครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ที่ค่ายเพลงทั้งใหญ่เล็กออกผลงานศิลปินโดยวางตำแหน่งเป็นอินดี้กันเยอะเกินไป ขาดการกลั่นกรองว่าอะไรดีไม่ดี หลายชุดทำออกมาหยาบๆ ไม่มีไอเดียใหม่แต่เอามา “ติดตราอินดี้” เกาะกระแส ผู้ฟังจึงหมดศรัทธา ส่วนการกลับมาในช่วงหลังนี้ รุ่งโรจน์สรุปว่าเริ่มจากการที่ “พี่เต๊ด” ยุทธนา บุญอ้อม เปิด Fat Radio และจัดงาน Fat Festival ครั้งแรกขึ้นในปี 2544 อีกทั้งบรรดาศิลปิน ค่ายเพลง และผู้บริโภคเองก็ได้ “เรียนรู้และปรับตัว” ทุกสิ่งเป็นระบบขึ้น ไม่ใกล้เคียงกับความ “แบกะดิน” แบบครั้งก่อน ทัศนะว่าด้วย “เด็กแนว” กับการบูมของอินดี้ครั้งที่แล้ว รุ่งโรจน์สังเกตว่า มีการแต่งตัวเลียนแบบศิลปินบ้าง แต่ไม่ “art” เท่าปัจจุบัน ซึ่งแต่งได้ออกมาสวยงามน่าดูกว่ามาก นอกจากนี้โทรศัพท์มือถือก็เข้ามามีส่วนกับไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่นค่อนข้างมาก ซึ่งก็เป็นความพยายามของทางธุรกิจโทรศัพท์มือถือเองด้วยที่จะเกาะติดไลฟ์สไตล์วัยรุ่น เมื่อมองถึงอนาคตของกระแส “เด็กแนว” รุ่งโรจน์เชื่อว่าจะอยู่ได้นาน “เด็กอัลเทอร์” (วัยรุ่นที่ชอบเพลงแนว alternative ซึ่งโด่งดังในยุคต้นทศวรรษ 90’s หรือ 2533) ก็ได้เติบโตขึ้นมาทำงานในภาคธุรกิจต่างๆ มีส่วนผลักดัน “เด็กแนว” ในปัจจุบันให้เติบโตไปสืบทอดความเป็นวัยรุ่นในยุคหน้าต่อไป

Read More

Vespa *


ตอนสิ้นสุดสงครามโรงงานส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะผลิตอะไรได้ถนนและรางรถไฟถูกทำลายเรือต่าง ๆ ถูกทำลาย Tuscany มีร่องรอยมากมายจากสงครามรวมทั้งโรงงานของ Piaggio ที่เมือง Pontedera"Piaggio ถูกตั้งที่ Seastri Ponente ในเมืองเจนัวประเทศอิตาลีในปี ค.ศ.1881และเจริญเติบโตจนประสบผลสำเร็จภายใต้การผลัก ดันของ Rinaldo Piaggio ลูกค้าของ Enrico ผู้ทำธุรกิจผลิตชิ้นส่วนของเรือด้วยความตั้งใจที่จะแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางเทคโนโลยี Rinaldo พยายามขยายส่วนของเขาออกไปจากการผลิตส่วนประกอบเรือ เขาจึงคิดเริ่มผลิตรางรถไฟรถไฟ ปีค.ศ.1917 เขาได้เข้าทำกิจการต่อจากคนอื่นในการทำโรงงานผลิต เรือเร็วที่ Finale Ligune and Pisa ขณะที่มีสงครามลูกชายของเขาสองคนคือ Anmando และ Enrico ได้แบ่งกันทำธุรกิจ Anmando ควบคุม และจัดการ โรงงานที่ Sestri and Finale ส่วน Enrico ดูแลโรงงาน Tuscan ของ Pisa และPontedera หลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 เหลือแต่โรงงาน Finale Ligure และบางส่วนของ SestriGenoa เท่านั้นความคิดดั้งเดิม Enrico จึงได้ตัดสินใจที่จะหยุดการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินที ่ยาก และเป็น งานซับซ้อนหันมาผลิตเครื่องยนต์แบบง่ายในแบบ Four – Part P 108 ให้กับรถเวสป้า ที่โรงงาน Pontedera ซึ่งเคยผลิต radial engine (สำหรับเครื่องบิน) ซึ่งทำลายสถิติที่ทำไว้แล้ว 21 ครั้งก่อน นาย Enrico ยังเห็น ภาพการปรักหักพังที่เกิดขึ้นสงครามติดตาอยู่เขาเข้าใ จว่าการจะแข่งขันกับ North American Company เป็นเรื่องยาก เขาจึงคิดที่จะนำคนงานที่เคยเป็นหัวหน้าคนงานคนนั้นก ลับมาด้วยการที่มีเครื่องยนต์ พิเศษเหลืออยู่เพียงน้อยนิด จึงเกิดความคิดที่สร้างยานพาหนะเล็ก ๆไว้เดินทางขนส่งและสำรวจใน โรงงานคือ MP5 หรือโดนัลดัค ซึ่งในรุ่นนี้ทำจากซากชิ้นส่วนของเครื่องบินดังนั้นร ูปร่างมันจึงมีความน่าเกียจมากกว่าน่ารักอย่างเดียวก ับที่พวกคนงานในโรงงานเรียกเพราะมันมีรูปร่างแปลก ๆ มันคือ Scooter รถจักรยานยนต์คันเล็ก ๆ ที่มีล้อต่ำ ๆ ช่วยต่อการขับขี่ไม่สิ้นเปลืองน้ำมันและราคาไม่แพง Enrico เห็นว่ารถจักรยานยนต์ใหม่ของเขาจะต้องทำให้คนอิตาลีห ันมาขี่กันทั้งประเทศอิตาลีทั้งๆที่ประเทศอิตาลียังค งมีแต่ซากปรักหักพังและน้ำมันขาดแคลน CorradinoD’Ascanio ได้เป็นวิศวกรผู้ทำการออกแบบ และในเดือนธันวาคมปีค.ศ.1945.รถเวสป้ารุ่น MP6 ก็ถูกผลิตออกมาด้วยองค์ประกอบหลายอย่างที่สะดวกสบาย มีล้ออะไหล่ซึ่งขับขี่แบบง่ายๆถ้าในเวลาขับขี่รถติดก ็มีที่กำบังกันน้ำกระเด็นใส่จึงทำให้ประชาชนในประเทศ อิตาลีเริ่มรู้จักรถจักรยานยนต์แบบ Scooter เมื่อ Enrico ได้ฟังเสียงรถ MP6 เขาร้องออกมาว่า"มันเหมือนตัวต่อ ร้องเลย"ตั้งแต่นั้นมา Enrico ก็เลยให้ชื่อเสียงเรียงนามเรียกรถนี้ว่า Vespa ซึ่งแปลว่าตัวต่อในเดือนเมษายน ปี ค.ศ.1946 Piaggio และ บริษัทของเขา ได้หยิบเอา ความคิดที่ดีออกมาใช้ในการออกแบบ จากนั้นปีต่อ ๆ มาจึงผลิตรถเวสป้าในปีหนึ่งนั้น จะผลิตรถ vespa ออกมาหนึ่งรุ่นถึงสองรุ่น
Dott. Enrico Piaggio เกิดเมื่อ 22 ก.พ. 1905 เป็นบุตรชายของ Rinaldo Piaggio จบการศึกษาที่ Genoa ทางด้าน Economic และ commerce เข้าร่วมธุรกิจของครอบครัวในปี 1928 ตำแหน่งผู้จัดการโรงงาน Pontedena ภายหลังในปี 1938 พ่อของเขาได้เสียชีวิตลง Enrico จึงได้รับภาระบริหารงานทั้งหมด University of Pisa มอบปริญญาเอกทางด้าน วิศวกรรมให้ Enrico เขาเสียชีวิตลงในปี 1965 หลังจากผลิตรถเวสป้า ส่งขายทั่วโลกครบ 1000000 คัน หลังสงครามโลกครั้งที่2 จบลง โรงงานของ Enrico ถูกทำลายจากาการทิ้งระเบิดของเยอรมัน ในช่วงของการฟื้นฟูเศรษฐกิจการต้องการพาหนะที่ประหยั ดมีมากจึงทำให้ Enrico เกิดความคิดที่จะนำชิ้นส่วนต่างๆ ในโรงงานนี้มาสร้างพาหนะนั้นนะ ที่มีคุณสมบัติระหว่าง Motorbike กับรถยนต์ในเดือนเมษายนปี 1945 Corradino D’Ascanio นักออกแบบในโครงการนี้ได้ ร่างภาพออกมาตัวถัง ทำจากเหล็ก แผ่นที่มีสันกระดูกกลางใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็ก 4-5 แรงม้า วางอยู่ตำแหน่งหลังเพื่อป้องกันการสกปรก ไม่เหมือนกับรถมอเตอร์ไซค์ทั่วๆๆไปที่นั่งมีบังลมป้อ งกันเสื้อผ้าและขาและสิ่งหนึ่งที่เขาบุกเบิกคือ การเปลี่ยนเกียร์ที่คันบังคับจากมือซ้ายและโยงไปยังเ ครื่อง เมื่อ Enrico ได้เห็นแบบร่างในครั้งแรกเขาตั้งชื่อมันว่า Vespa เพราะมีรูปร่างคล้ายๆๆตัวต่อ (Wasp)
Classic Scooter คำว่า "scooter" ที่หมายถึงยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์นั้น มีการให้ความหมายกว้างขวางมาก หลายๆคนมองว่า scooter คือยานยนต์ที่มีล้อขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สีสรรสดใส และราคาประหยัด จุดเด่นของ scooter ก็คือเพื่อตอบสนองผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ทางช่าง scooter มีการวางจำหน่ายเป็นจำนวนมากในช่วงหลังสงครามโลกครั้ งที่สอง จนกระทั่งเริ่มมีการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กราคาถูกออกวาง จำหน่าย ความนิยมในการใช้ scooter จึงลดน้อยลงผู้ครองตลาดการจำหน่าย scooter ในช่วงปี 1950 คือ บริษัทของอิตาลี 2 แห่งคือ piaggio และ innocenti ซึ่งเป็นผู้ผลิต vespa และ lambretta ทำให้เป็นที่อิจฉาของ ผู้ประกอบการรายอื่นทั่วโลก ในขนะที่ยอดจำหน่ายสูงสุดของ scooter จะมีอายุเพียงสองทศวรรษเท่านั้น แต่โดยภาพรวมแล้ว scooter กลับมีอายุยืนนานถึงกว่า80ปี ข้อเขียนนี้เป็นการบรรยายสรุปการผลิต scooter เริ่มตั้งแต่ช่วงปี1900 และปิดท้ายด้วยการคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ในอนาคตขอ ง scooter จุดกำเนิด scooter (scooter origins) พื้นฐานที่สำคัญของ scooter ต่อสาธารณะก็คือการเป็นยานยนต์ส่วนตัวที่มีราคา ประหยัดจากผลของสงครามโลกทั้งสองครั้ง ผลในทางบวกที่เกิดขึ้นก็คือการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่า งรวดเร็ว ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง บริษัทวิศวกรรมทางการทหารมีการขยายตัวอย่างมาก และเมื่อสงครามสงบ จึงเกิดบริษัทวิศวกรรมหลายๆแห่งที่ไม่ต้องทำการผลิตเ พื่อกองทัพอีกต่อไป ดังนั้นบริษัทเหล่านี้จึงหันมามองตลาดยานพาหนะส่วนบุ คคลแทน หลายๆบริษัทได้หันมาพัฒนาประดิษฐ์กรรมที่ต่อมาเรียกข านกันว่า scooter scooter รุ่นแรกๆนั้น ไม่มีการจำหน่ายในปริมาณมาก สาเหตุอาจเป็นเพราะไม่ได้สนองตอบต่อความต้องการในการ เดินทางของผู้คนภายหลังสงคราม และก็เพียงเพื่อต้องการให้มีความแตกต่างกับมอเตอร์ไซ ด์ในยุคนั้นเท่านั้น scooter ในยุคแรกได้รับความนิยมพอสมควร แต่ก็ต้องปิดตัวเองไปในช่วงกลางทศวรรษ 1920 จนกระทั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่สองจึงได้เริ่มทำการผ ลิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อตอบสนองทางการทหาร บริษัทผู้ผลิตในอังกฤษ อิตาลี เยอรมัน และอเมริกา ได้ทำการผลิต scooter แบบธรรมดาๆเพื่อใช้ขนย้ายกองทหารพลร่มและทหารราบ ในอังกฤษมีการผลิตแบบ Welbike ซึ่งสามารถพับเก็บได้ ในอเมริกามีการผลิตแบบ Cushman ฝ่ายเยอรมันก็มี TWN ส่วนอิตาลีก็ทำการผลิตแบบ Volugrafo ซึ่งมีล้อหลังคู่ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ผู้คนเริ่มหันมาต้องการใช้ยานยนต์กันอีก บริษัทผู้ผลิตซึ่งต้องทำงานอย่างหนักในช่วงสงครามจึง มีศักยภาพพอที่จะทำการผลิตได้ ผลที่ตามมาก็คือเกิดการประดิษฐ์ scooter รุ่นที่สอง ในอิตาลี บริษัท Piaggio ซึ่งบริษัทผู้สร้างเครื่องบินในสมัยนั้นถูกห้ามทำการ ผลิตในปี 1945 ดังนั้นทางบริษัทตึงหันมาผลิต scooter ขนาดเล็กที่ใช้โครงสร้างตัวถังแบบชั้นเดียวแทน หลังจากผลิตรถรุ่นดังกล่าวได้ประมาณ 100 คัน จากนั้นจึงลงมือผลิตรุ่นที่ใช้ชื่อว่า Vespa (Wasp) ออกมารถรุ่นนี้มีความก้าวหน้ามากทั้งในด้านรูปทรงและ ด้านวิศวกรรม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของVespa ที่มีการวางจำหน่ายในท้องตลาดจนถึงกลางทศวรรษ1990 scooter รุ่นแรกที่มีขนาดเครื่องยนต์เพียง 98cc.ต่อมาได้มีการพัฒนาให้มีขนาด 125cc. 150cc.และ 200cc. ตามลำดับ ส่วนบริษัทยักษ์ใหญ่ Innoncenti แห่งมิลาน ได้ทำการเปิดตัวสินค้าด้วย Lambretta M (ต่อมาใช้ชื่อใหม่เป็น Model A)ออกมาในปี 1947 Lambretta ผลิตโดยใช้ตัวถังแบบเปิด(openframe)ทรงหลอด และไม่มีระบบป้องกันสภาพอากาศที่ดีนอกจากนั้นก็ไม่มี ระบบกันกระเทือนอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องอาศัยยางในล้อช่วยลดการกระแทก หลังจากนั้นไม่นานLambretta จึงทำการผลิตรุ่น B ออกมาแทน จากจุดนี้เอง ทั้ง Lambretta และ Vespa จึงได้ทำการแข่งขันกันอย่างหนัก เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งในการตลาด อย่างไรก็ตาม Lambretta ยังยึดรูปแบบทรงหลอดอยู่ แต่ในบางครั้งก็มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบขับเคลื่อนด้ วยเพลาไปใช้ระบบโซ่ หรือบางทีก็สลับกัน ส่วนทางด้าน Vespa นั้นก็ยังยึดระบบตัวถังแบบเหล็กชิ้นเดียวครอบตัวเครื ่อง และติดตั้งระบบเกียร์ไว้ใกล้ๆกับล้อหลัง การแข่งขันของทั้งสองบริษัทนี้เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆแม้กระทั่งในปัจจุบัน ผู้ใช้ scooter ก็ยังแบ่งเป็นสองกลุ่มอย่างชัดเจน ต้นทศวรรษ 1950 ทั้ง Vespa และ Lambretta สามารถสร้างยอดจำหน่ายได้มากชนิดที่วงการรถสองล้อไม่ เคยมีมาก่อน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นผลให้ผูผลิตรถจักรยานยนต์ และยานยนต์ชนิดต่างๆ เกิดการแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้ นผู้ผลิตบางรายจะเน้นที่รูปแบบและเครื่องยนต์ สำหรับบางรายยกเครื่อง scooter ใหม่หมด โดยการเปลี่ยนยานยนต์แบบประหยัด ให้กลายมาเป็นยานยนต์แบบเริดหรูและก้าวไกล ตลาดในขณะนั้นไม่สามารถรองรับความหลากหลายของสินค้าไ ด้ทั้งหมด ทำให้สินค้าบางตัวมีอายุสั้นมาก แม้จะเป็นสินค้าชั้นยอดก็ตาม สินค้าชั้นดีหลายๆชนิดไม่ประสบผลสำเร็จทางธุระกิจเลย จุดตกต่ำของ scooter เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1960 เมื่อผูบริโภคหันหลังไปนิยมใช้รถยนต์ขนาดเล็กที่มีรา คาถูก เช่น Fait 500 และ Fait Mini เป็นต้น ทั้งนี้เพราะป้องกันฝน และอากาศหนาวได้ดีกว่า ส่วนผู้ซื้อ scooter จะมีก็เพียงสมาชิกชมรมต่างๆที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไ ป ในทศวรรษ 1990 scooter ของยุโรปยังมีหลงเหลือให้เห็นได้พอสมควร ทว่าในปัจจุบันผู้ผลิตของญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และอิตาลี กำลังทำการผลิต scooter รุ่นที่สามออกมา โดยมีรูปทรงและภาพพจน์ที่สะดวกสบายต่อการขนส่ง มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และเสริมสีสรรที่โฉบเฉี่ยว เพื่อดึงดูดลูกค้าวัยรุ่นฐานะปานกลาง จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าอนาคตของ scooter จะเป็นอย่างไรต่อไป

Read More

The show [[ Lenka ]]

Read More


Lenka - The Show


I'm just a little bit caught in the middle

Life is a maze and love is a riddle

I don't know where to go I can't do it alone I've tried

And I don't know why


Slow it down

Make it stop

Or else my heart is going to pop

'Cause it's too much

Yeah, it's a lot

To be something I'm not


I'm a fool

Out of love

'Cause I just can't get enough


I'm just a little bit caught in the middle

Life is a maze and love is a riddle

I don't know where to go I can't do it alone I've tried

And I don't know why


I'm just a little girl lost in the moment

I'm so scared but I don't show it

I can't figure it out

It's bringing me down I know

I've got to let it go

And just enjoy the show


The sun is hot

In the sky

Just like a giant spotlight

The people follow the sign

And synchronize in time

It's a joke

Nobody knows

They've got a ticket to that show

Yeah


I'm just a little bit caught in the middle

Life is a maze and love is a riddle

I dont know where to go

I can't do it alone I've tried

And I don't know why

I'm just a little girl lost in the moment

I'm so scared but I don't show it

I can't figure it outIt's bringing me down I know

I've got to let it go

And just enjoy the show


Just enjoy the show


I'm just a little bit caught in the middle

Life is a maze and love is a riddle

I dont know where to go I can't do it alone I've tried

And I don't know why


I'm just a little girl lost in the moment

I'm so scared but I don't show it

I can't figure it out

It's bringing me down I know

I've got to let it go

And just enjoy the show


dum de dum

dudum de dum


Just enjoy the show


dum de dum

dudum de dum


Just enjoy the show

I want my money back

I want my money back

I want my money backJ

ust enjoy the show


I want my money back

I want my money back

I want my money back

Just enjoy the show

Read More