วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ว่านหางจระเข้


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f.


ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Mill


ชื่อสามัญ : Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados


วงศ์ : Asphodelaceae


ชื่ออื่น : หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวยส่วนที่ใช้ : ยางในใบ น้ำวุ้น เนื้อวุ้น และเหง้า


สรรพคุณ :
- ใบ - รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี
- ทั้งต้น - รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา
- ราก - รสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด
- ยางในใบ - เป็นยาระบาย
- น้ำวุ้นจากใบ - ล้างด้วยน้ำสะอาด ฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น - เนื้อวุ้น - เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร
- เหง้า - ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุตกิด


ความลับของว่านหางจระเข้ :


๑. แก้ปวดศีรษะ ใช้ว่านหางจรเข้ตัดตามบวางให้เป็นแว่นบางๆ เอาปูน แดงทาที่วุ้น แล้วปิดที่ขมับ จะทำให้เย็นหายปวด


๒. แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้น้ำเมือกจากว่านหางจรเข้รักษา แผลไฟลวก ขนาดรุนแรงที่สุด โดยทาน้ำเมือกที่แผลให้เปียกอยุ่เสมอ แผลจะหายรวดเร็วมาก อาการปวดแผลหรือการเกิดแผลเป็นจะมีน้อย มาก หรือไม่มีเลย


๓. ผิวไหม้เพราะถูกแดดเผา ใช้วุ้นหางจระข้ทาบ่อยๆ ช่วยลด อาการปวดแสบปวดร้อน ผิวตึง และลดจำนวนผิวที่ลอก


๔. แผลจากของมีคมและแผลอื่นๆ ทำความสะอาดแผลเสียก่อน แล้วเอาวุ้นปิดลงที่่แผลให้สนิท เอาผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงไปให้ ผ้าตรงบริเวณที่แผลเปียกอยุ่เสมอ ช่วยให้แผลหายเร็ว และลดรอยแผล เป็น


๕. กระเพาะลำไส้อักเสบ รับประทานวุ้นหางจรเข้ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ วันละหลายๆครั้ง ใช้ได้ผลในรายที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรืออวัยวะอื่น ในทางเดินอาหารเกิดการอักเสบ


๖. บำรุงผมและหนังศีรษะ ใช้วุ้นว่างหางจรเข้ ชโลมผมให้ทั่วทิ้ง ไว้ให้แห้ง รุ่งเช้าจึงใช้น้ำล้างออก ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม หวีง่ายขึ้น และรักษาแผลบนหนังศีรษะ ( ก่อนใช้ควรทดลองก่อนว่า แพ้ว่าน หรือไม่ และควรใช้แต่น้อยดูก่อน ที่สำคัญอย่าให้ยางถูกผมเพระายางจะ กัดหนังหัว)


๗. ป้องกันการติดเชื้อ ใช้วุ้นหางจรเข้ ทาแผลรักษาแผลติดเชื้อได้ ทำให้แผลดีขึ้น ภายใน ๑๒ ชั่วโมง


๘. ผื่นคันที่เกิดจากการแพ้สารต่างๆ เนื่องจากวุ้นหางจระข้ จะมี ฤทธิ์ระงับปวด จึงช่วยลดอาการคันด้วย และยังช่วยให้ผื่นคันหายเร็ว


๙. ขี้เรือนกวาง และผื่นปวดแสบปวดร้อน ใช้วุ้นหางจรเข้ กินวันละ ๑-๒ ครั้งๆละ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ แลทาควบคู่กันไป ว่านหางจรเข้ เป็นยาฝาดสมาน อาจทำให้ผิวแห้งได้ จึงควรผสมน้ำมันทาผิว หรือ น้ำมันอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย


๑๐. ลบรอยแผลเป็น ใช้วุ้นว่านหางจรเข้ทา เช้า-เย็น จะลดรอย แผลเป็น


๑๑. ลบท้้องลายหลังคลอด ใช้วุ้นว่านหางจรเข้ทาผิวท้อง ขณะตั้ง ครรภ์ แม้หลังคลอดแล้วก็ควรใช้ทาต่อเพื่อช่วยให้ผิวหน้าท้องกลับคืนสู่ สภาพปกติ คนที่เคยใช้ยืนยันว่าได้ผลดี


๑๒. เส้นเลือดดำขอดที่ขา ใช้วุ้นว่านหางจรเข้ ทาที่บริเวณเส้นเลือด ดำขอด และมีบางคนใช้ได้ผลดีมาก


๑๓. มะเ็ร็งที่ผิวหนัง ใช้วุ้นว่านหางจรเข้ ทาวันละ ๒-๔ ครั้ง เป็นเวลา หลายเดือน


๑๔. แผลครูดและแผลถลอก ใช้วุ้นว่านหางจรเข้ ทาเบาๆ ให้ทั่ว ใน ๒๔ ชั่วโมงแรก ทาบ่อยๆ แผลจะไม่ค่อยเจ็บและหายเร็วมาก


๑๕. โรคปวดตามข้อ รับประทานวุ้น ว่านหางจรเข้ เป็นประจำ จะหาย ปวดได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น